ไหว้พระธาตุ นครพนม |
|
|
|
ุพระธาตุพนม |
|
ประดิษฐาน ณ วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร ในเขตอำเภอธาตุพนม ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 50 กิโลเมตร การเดินทางใช้ทางหลวงหมายเลข 212 ผลจากการขุดค้นทางโบราณคดีลงความเห็นว่าพระธาตุพนมสร้างขึ้นระหว่าง พ.ศ. 1200–1400 ตามตำนานกล่าวว่าผู้สร้างคือ พระมหากัสสปะ พระอรหันต์ 500 องค์ และท้าวพระยาเมืองต่าง ๆ ภายในองค์พระธาตุบรรจุพระอุรังคธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไว้ ลักษณะของสถาปัตยกรรมมีแหล่งที่มาที่เดียวกันกับปราสาทของขอม และได้ทำการบูรณะเรื่อยมา ในปี พ.ศ. 2485 ได้รับการยกฐานะเป็นพระอารามหลวงชั้นเอกขึ้นเป็น “วรมหาวิหาร”พระธาตุพนมไม่เพียงแต่เป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวนครพนมเท่านั้น พระธาตุพนมยังเป็นที่เคารพของชาวไทยภาคอื่น ๆ และชาวลาวอีกด้วย ว่ากันว่าถ้าใครได้มานมัสการพระธาตุครบ 7 ครั้ง จะถือว่าเป็น “ลูกพระธาตุ” เป็นสิริมงคลแก่ชีวิตและจะมีความเจริญรุ่งเรือง หรือแม้แต่การได้มากราบพระธาตุพนม 1 ครั้ง ก็ถือเป็นมงคลแก่ชีวิตแล้วในวันที่ 11 สิงหาคม 2518 เวลา 19.38 น. พระธาตุพนมได้ล้มทลายลงทั้งองค์ เนื่องจากความเก่าแก่ขององค์พระธาตุพนมและประจวบกับระหว่างนั้นฝนตกพายุพัด แรงติดต่อกันมาหลายวัน ประชาชนทั้งประเทศได้ร่วมบริจาคทุนทรัพย์และรัฐบาลได้ก่อสร้างองค์พระธาตุ ขึ้นใหม่ตามแบบเดิม การก่อสร้างนี้เสร็จสิ้นเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2522 นอกจากพระบรมสารีริกธาตุที่บรรจุในองค์พระธาตุแล้ว ยังมีของมีค่ามากมายนับหมื่นชิ้น โดยเฉพาะฉัตรทองคำบนยอดพระธาตุ ปัจจุบันองค์พระธาตุมีฐานกว้างด้านละ 12.33 เมตร สูง 53.60 เมตร เป็นเจดีย์ทรงสี่เหลี่ยมสูงแลดูสง่างาม งานนมัสการองค์พระธาตุเริ่มตั้งแต่วันขึ้น 10 ค่ำ เดือน 3 ถึงวันแรม 1 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี พระธาตุพนมถือเป็นพระธาตุปีเกิดของคนเกิดปีวอก และเป็นพระธาตุประจำวันเกิดของผู้เกิดวันอาทิตย์
การเดินทาง จากสถานีขนส่งในอำเภอเมืองฯ มีรถปรับอากาศและรถธรรมดา คิวรถอยู่ข้างธนาคารทหารไทย |
|
|
|
วัดพระธาตุมหาชัย |
|
ประดิษฐานอยู่บ้านมหาชัย ตำบลมหาชัย ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 39 กิโลเมตร ตามเส้นทางนครพนม-สกลนคร ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 22 แล้วแยกเข้าทางหลวงหมายเลข 2276 เข้าวัดอีก 1.8 กิโลเมตร ทางเข้าวัดเป็นถนนคอนกรีต องค์พระธาตุสูง 37 เมตร เป็นปูชนียสถานที่สำคัญยิ่งแห่งหนึ่ง เพราะเป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันต์สารีริกธาตุ ภายในพระอุโบสถนอกจากพระประธานคือ พระพุทธไชยสิทธิ์แล้วยังมีพระพุทธรูปปางห้ามญาติสลักจากไม้ต้นสะเดาหวานที่ ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และภาพเขียนบนฝาผนังอุโบสถแสดงพุทธประวัติ มีลวดลายศิลปกรรมที่งดงามมากในภาคอีสานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จ พระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ที่พระธาตุ มหาชัย เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2518 ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ซึ่งเป็นวันวิสาขบูชา และที่วัดนี้ยังเป็นที่จำพรรษาของพระสุนทรธรรมากร (หลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ) พระเกจิอาจารย์สายวิปัสนาที่สำคัญองค์หนึ่ง ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของชาวนครพนมและชาวอีสานทั่วไป
การเดินทาง ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 39 กิโลเมตร ตามเส้นทางนครพนม-สกลนคร ทางหลวงหมายเลข 22 (กิโลเมตรที่ 201-202 เลี้ยวซ้ายเข้าวัดอีก 2 กิโลเมตร |
|
|
|
พระธาตุท่าอุเทน |
|
อยู่บ้านท่าอุเทน ใกล้กับที่ว่าการอำเภอท่าอุเทน องค์พระธาตุก่ออิฐถือปูนเป็นผังรูปสี่เหลี่ยมคล้ายพระธาตุพนม สร้างเป็น 3 ชั้น ชั้นแรกเป็นอุโมงค์บรรจุของมีค่าต่าง ๆ ชั้นที่ 2 สร้างครอบอุโมงค์ ชั้นที่ 3 คือเจดีย์องค์ใหญ่ สูงประมาณ 15 เมตร พระอาจารย์ศรีทัตถ์เป็นผู้สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2454 พระธาตุนี้เป็นศิลปกรรมและปูชนียสถานอันสำคัญยิ่งองค์หนึ่ง บรรจุพระธาตุของพระอรหันต์ ซึ่งพระอาจารย์ศรีทัตถ์ได้อัญเชิญมาจากเมืองย่างกุ้ง จะมีงานนมัสการพระธาตุในวันขึ้น 13 ค่ำ ถึงแรม 1 ค่ำ เดือน 4 ของทุกปี การเดินทาง จากตัวเมืองนครพนมไปตามทางหลวงหมายเลข 212 ประมาณ 26 กิโลเมตร |
|
|
|
พระธาตุประสิทธิ์ |
|
ประดิษฐานอยู่ที่วัดพระธาตุประสิทธิ์ หมู่ที่ 13 ตำบลนาหว้า อำเภอนาหว้า ห่างจากอำเภอเมืองประมาณ 98 กม. เป็นที่บรรจุพระอุรังคธาตุของพระพุทธเจ้า ประชาชนในท้องที่ใกล้เคียงเคารพนับถือมาก การเดินทางจากตัวเมืองนครพนมไปตามทางหลวงหมายเลข 212 ผ่านอำเภอท่าอุเทนถึงบ้านนาขมิ้น จนถึงทางหลวงหมายเลข 2032 แยกซ้ายมือเข้าอำเภอศรีสงคราม ระยะทางประมาณ 72 กม.
|
|
|
|
พระธาตุเรณู |
|
ประดิษฐานอยู่วัดพระธาตุเรณู ณ บ้านเรณูนคร องค์พระธาตุจำลองมาจากองค์พระธาตุพนมองค์เดิม แต่มีขนาดเล็กกว่า สร้างเมื่อปี พ. ศ. 2461 โดยพระอุปัชฌาย์อินภูมิโย สูง 35 เมตร กว้าง 8.37 เมตร มีซุ้มประตู 4 ด้าน ภายในเป็นโพรงบรรจุพระไตรปิฎก พระพุทธรูปทองคำ พระพุทธรูปเงิน ของมีค่า และเครื่องกกุธภัณฑ์ของพระยาและเจ้าเมือง นอกจากนี้ภายในโบสถ์ยังประดิษฐานพระองค์แสน ซึ่งเป็นพระพุทธรูปทองคำศิลปะแบบลาว ปางสมาธิ พระคู่บ้านของอำเภอเรณูนคร มีพุทธลักษณะสวยงามมาก การเดินทาง จากสถานีขนส่ง ยังไม่มีรถจากอำเภอเมืองฯ ไปอำเภอเรณูนครโดยตรง ต้องขึ้นรถสายที่ไปวัดพระธาตุพนม และลงตรงแยกบ้านหลักศิลา จากนั้นเหมารถสกายแล็ปเข้าไปที่วัด ระยะทางประมาณ 7 กิโลเมตร หากเดินทางโดยรถยนต์ พระธาตุเรณูอยู่ห่างจากพระธาตุพนม 15 กิโลเมตร หรือห่างจากตัวจังหวัดนครพนมไปทางใต้ 51 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 212 ถึงประมาณกิโลเมตรที่ 44 เลี้ยวขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 2031 อีกประมาณ 7 กิโลเมตร ทางลาดยางตลอด
บริเวณนี้แต่เดิมเป็นเรณูนคร ถิ่นที่อยู่ของชาวผู้ไทย ซึ่งยังคงรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่นไว้เป็นอย่างดี อาทิ ธรรมเนียมการต้อนรับด้วยการบายศรีสู่ขวัญ การเลี้ยงอาหารแบบพาแลง การชวนดูดอุ การฟ้อนรำผู้ไทย นอกจากนี้ยังมีร้านจำหน่ายสินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึกต่างๆไว้บริการนัก ท่องเที่ยวและประชาชนจากจังหวัดใกล้เคียงอีกมากมาย โดยเฉพาะบริเวณวัดพระธาตุเรณูนคร และตลาดอำเภอเรณูนคร
การฟ้อนผู้ไทยนับเป็นการแสดงศิลปะและวัฒนธรรมแบบพื้นเมืองอย่างหนึ่งของชาว ผู้ไทยที่ได้รับการถ่ายทอดกันมาเป็นเวลาช้านาน จากบรรพบุรุษของชาวเผ่าผู้ไทย ในสมัยก่อนเรียกการฟ้อนรำแบบนี้ว่า “ฟ้อนละครไทย” เป็นการแสดงออกให้เห็นถึงความสามัคคีในหมู่คณะเดียวกัน โดยการจับกลุ่มเล่นฟ้อนกัน |
|
|
|
วัดโอกาสศรีบัวบาน |
|
พระธาตุนคร ประดิษฐานอยู่ที่วัดมหาธาตุ ถนนสุนทรวิจิตร อ.เมืองนครพนม พระธาตุมีลักษณะสี่เหลี่ยมจัตุรัส ก่อสร้างเสร็จในวันเดือนเพ็ญของปี พ.ศ.๒๔๖๕ มีรูปแบบตามพระธาตุพนมองค์เดิม ภายในบรรจุพระอรหันตธาตุ พร้อมกับองค์พระพุทธรูปทองคำ และของมีค่าต่างๆ จากประชาชนผู้มีจิตศรัทธาถวายบรรจุเอาไว้ในองค์พระธาตุ
เชื่ือหนักหนาว่าผู้มาสักการะจะได้อานิสงส์ ส่งผลให้มีบุญวาสนา เป็นเจ้าคนนายคน ซึ่งเมื่ออดีตเจ้าเมืองต่างจะต้องมากราบไหว้ และถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาที่พระธาตุแห่งนี้ ซึ่งมีเทวดานพเคราะห์ประจำทิศตะวันตกเฉียงใต้ปกปักษ์รักษา |
|
|
|
พระธาตุศรีคุณ |
|
ห่างจากอำเภอธาตุพนมตามทางหลวงสาย 212 ประมาณ 7 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวขวาเข้าทางหลวงสาย 223 ประมาณ 20 กิโลเมตร ถึงอำเภอนาแก และเลี้ยวซ้ายถึงวัดพระธาตุศรีคุณ เป็นที่ประดิษฐานพระธาตุศรีคุณซึ่งเป็นปูชนียสถานคู่บ้านคู่เมืองของชาว อำเภอนาแก ลักษณะส่วนบนของพระธาตุคล้ายพระธาตุพนม ต่างกันตรงที่ชั้นที่ 1 มี 2 ตอน เป็นรูปสี่เหลี่ยม ประดับลวดลายปูนปั้น และชั้นที่ 2 สั้นกว่าพระธาตุพนม
|
|